การวาดหน้าคน
วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ลำดับขั้นตอนการวาดภาพคนเหมือน
1.ร่างภาพ
ชก่อนทำการวาดภาพและลงน้ำหนักในภาพคนเหมือนนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการร่างภาพแบบก่อนเพราะถ้าเราร่างภาพแบบไม่เหมือนหรือผิดสัดส่วนพอลงน้ำหนักก็ไม่มีวันที่รูปจะออกมาเหมือนและถูกสัดส่วนตามแบบได้เลย ส่วนการร่างภาพนั้นแนะนำให้ร่างเบาๆก่อน(อาจร่างด้วยดินสอ HB ก็ได้)เพราะกันผิดพลาดและลบแก้ไขได้ง่าย
2.กำหนดแสง-เงา
ขั้นตอนนี้สำหรับรูปที่มีการเข้าแสงที่จัดทำให้เกิดแสง-เงาที่ตัดกันจึงควรลงน้ำหนักด้านที่เป็นเงา บางๆก่อน(ส่วนด้านที่แสงเข้ามากระทบไม่ต้องลงน้ำหนักปล่อยขาวไว้เลย)แล้วจึงเพิ่มน้ำหนักภายหลังเพื่อแยกจากด้านแสงเข้าก่อน กันงงและหลงน้ำหนัก แต่ถ้ารูปต้นแบบเป็นแบบแสงนุ่มไม่ตัดกันชัดเจนก็ข้ามขั้นตอนนี้ได้เลยครับ
3.ลงน้ำหนักกลาง
การลงน้ำหนักในขั้นตอนนี้ให้ลงน้ำหนักใน Step ที่3และ4(กลับไปดูขั้นตอนการฝึกน้ำหนัก5 Step)ไว้ก่อนโดยจุดที่เงาเข้มให้ลง Step 3 และลง Step 4 ในจุดที่เงาไม่มากนัก ส่วนจุดที่สว่างหรือโดนแสงให้เว้นไว้ไม่ต้องลงน้ำหนัก เพราะการที่เราลง Step 3-4 ไว้ก่อนนั้นจะเป็นน้ำหนักที่ไม่เข้มมากเกินไปสามารถเพิ่มน้ำหนักและลบออกได้ง่ายที่สำคัญการที่เราลงน้ำหนักในระดับนี้ก่อนจนทั่วภาพนั้นจะไม่ทำให้ภาพนั้นดูมืดหรือเข้มไปด้วยครับ และยังแยกด้านที่เป็นแสงและเงาได้ชัดเจนทำให้วาดภาพได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
4.การเพิ่มน้ำหนัก
ขั้นตอนนี้คือขั้นตอนที่ทำให้ภาพดูมีระยะชัดลึกมีน้ำหนักและมีชีวิตขึ้นมาครับโดยการเพิ่มน้ำหนักเข้าไปในจุดที่เราลงน้ำหนักกลางไว้ ดูว่าจุดไหนที่เป็นจุดที่มีเงาเข้มมีความลึกและมีการบังแสงหรืออยู่ในระยะที่ลึกเข้าไปจุดพวกนี้จะต้องมีน้ำหนักเข้มใน Step ที่ 1-2 เช่นจุดที่จะมีน้ำหนัก Step ที่1ได้ก็อย่าง แก้วตา,หัวตา,ขอบตาบน,รูจมูก,รูหู,ในปากหรือเส้นกลางปาก,หัวคิ้วและใต้คาง/สันกับปีกจมูก(ฝั่งเงามืด)ฯลฯเหล่านี้ล้วนต้องใช้น้ำหนักที่เข้มเพื่อความมีมิติของภาพและการลงน้ำหนักเหล่านี้ต้องคำนึงถึงจุดที่เชื่อมน้ำหนักด้วยเช่นถ้าจะลงน้ำหนักที่ทำให้ดูนุ่มนวลจากเข้มเข้าหาอ่อนโดยไม่ใช่จุดที่แสงเงาตัดกันก็ต้องมีน้ำหนักที่คอยเชื่อมและมีการกระจายน้ำหนักออกรอบๆด้าน คือเมื่อลงน้ำหนัก Step ที่1ในจุดใดจุดหนึ่งก็กระจายออกด้วย Step ที่2รอบๆด้าน(Step ที่2นี้เป็นตัวเชื่อมStep ที่1 เพื่อเข้าหากับ Step ที่3 หรือ4 ทำให้ไม่ดูขาดจนเกินไปและภาพดูนุ่มนวลขึ้น)เช่นกันถ้าลงน้ำหนักด้วย Step ที่2แล้วต้องการเชื่อมกับStep ที่4หรือ5 ก็ต้องใช้น้ำหนัก Step ที่3เป็นตัวเชื่อม ส่วนด้านที่แสงเข้าที่เราเว้นกระดาษไว้ขาวโดยไม่ลงน้ำหนักก็เชื่อมกับน้ำหนักกลางที่เราลงไว้ด้วย Step ที่5เข้าหา Step ที่4 ครับ แต่ข้อควรสังเกตุอีกอย่างคือถ้าจุดไหนเป็นจุดที่แสงเงาตัดกันก็ไม่ควรใส่น้ำหนักที่เป็นตัวเชื่อมลงไปเพราะจะทำให้ภาพขาดความสมจริงไป
5.กำหนดทิศทางผม
เมื่อทำใบหน้าเสร็จแล้วก็ต้องมาทำผมกันบ้างผมมีความสำคัญกับภาพมากนะครับเพราะมันจะทำให้ดูสมจริงมีชีวิตชีวาทำให้ภาพดูสวยขึ้นได้มากทีเดียวยกเว้นรูปคนหัวล้านหรือใส่หมวก ขั้นตอนการวาดผมก็คือก่อนอื่นต้องกำหนดทิศทางของเส้นผมก่อนโดยการลงน้ำหนักกลางปาดไปตามแนวผมของต้นแบบ(เหมือนการหวีผมครับ)
6.เพิ่มน้ำหนักผม
ขั้นตอนนี้คล้ายๆตอนทำใบหน้าแต่ต่างกันเรื่องทิศทางของการควบคุมดินสอ จะเพิ่มน้ำหนักโดยรวมก่อนก็ได้ครับแล้วเว้นด้านที่ถูกแสงอย่าให้น้ำหนักเท่ากันไปหมดเพื่อความมีมิติและจบด้วการนำดินสอที่แหลมกรีดตัดไปตามแนวเส้นผมทำให้ผมดูเป็นเส้นๆสวยงาม
*(ภาพที่ผมนำมาวาดประกอบยังไม่เสร็จสมบูรณ์จึงขอนำรูปผลงานของ อ.ลาภ อำไพรัตน์ ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วมาให้ดูเป็นตัวอย่าง)
7.เก็บรายละเอียดและจบงาน
วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558
สอนวาดภาพใบหน้า
สอนวาดภาพใบหน้า
เอาละครับ วันนี้ จะมา สอน วิธีการร่าง ภาพคนเหมือน ใบหน้าคน ครับ
สำหรับมือใหม่ครับอันนี้
เอาละครับ วันนี้ จะมา สอน วิธีการร่าง ภาพคนเหมือน ใบหน้าคน ครับ
สำหรับมือใหม่ครับอันนี้
มาๆ มาดูกันว่า ทำยังไง จึงจะวาดภาพ คนเหมือน แบบว่า หน้าไม่บิดเบี้ยว ครับ
วิธีการ ก็ไม่ยากครับ แต่ต้องทำความเข้าใจ กับสัดส่วนกันสัก หน่อยครับ เพื่อนๆ
สิ่งที่จะกำลัง จะสอน ให้เพื่อนนี้ ให้เรานำไปใช้กับ หน้าคนทั้งด้าน ข้าง แล้ว หน้าตรงๆ และมุม มอง แบบอื่นๆได้ ด้วยนะครับ
*** ส่วนวันนี้ ผมขอ ลงให้ดู ด้าน ข้างกัน ก่อน ละกันครับ ส่วนหน้าตรงนั้น ก็ไม่ได้ แตกต่างอะไรครับ
เพรียงแค่มี หลายละเอียดเพิ่ม เข้ามา นิดหน่อย เท่านั้นเองครับ
จากภาพที่เห็นด้านบน นะครับ
เราจะเห็นว่า มี สัดส่วน ในการร่างภาพ อยู่ 3ส่วน ครึ่ง ครับเพื่อนๆ
โครง ร่าง ภาพ หน้า คน มี 3ส่วน ครึ่ง
ส่วนที่1 จาก คาง ถึง จมูก
ส่วนที่2 จาก จมูก ถึง โหนกคิ้ว
ส่วนที่3 จาก โหนกคิ้ว ถึง ไรผม
ละส่วนสุดท้าย มีครึ่งส่วน
จาก ไรผม จน ถึง กระโหลก ศรีษะ ครับ
ขั้นตอนการ วาดก็ ให้เรา ร่างเส้นขึ้นมาก่อนครับ
1. ร่างเส้น ตรงแนวตั้ง
2. ขีดเส้น แนวนอน ตามระยะที่ผมบอกไปครับ
ให้เริ่ม จาก คาง ไป จนถึง กระโหลก ศรีษะ ส่วนบนสุดครับ
3. เมื่อได้ ทั้ง เส้นแนวนอน และ แนวตั้งแล้ว เราจึง เริ่มวาด จมูก ก่อนครับ
( เพราะว่าจมูก นั้น จะเป็น ตัวบอกตำแหน่ง ว่า ปากของแบบที่เรานำมาวาดนั้น ยื่นออกมา มากน้อยเพียงใดนั้นเองครับ )
และยัง บอกเราได้อีกว่า หน้าผาก ยื่นออกมา มากน้อย เพียงใด อีก เช่นกันครับ เพื่อนๆ
อ้างอิงhttp://kingart39.blogspot.com/2013/03/blog-post_31.html
ฝึกวาดอวัยวะต่างๆของหน้า
เราลองมาฝึกฝนการวาดอวัยวะส่วนต่างๆของใบหน้ากัน..!
ส่วนต่างๆของใบหน้าที่สำคัญซึ่งได้แก่ ดวงตา จมูก
ปาก และใบหู ต่างก็เป็นหลักและหัวใจที่สำคัญใน
การวาดใบหน้าคน
การวาดโครงสร้างใบหน้า ควรร่างเส้นแกนของใบหน้า
ก่อน คือ ต้องลากเส้นวงกลมแบ่งวงกลมด้วยเส้น A
แล้วลากเส้น B ตัด กับเส้น A ผ่ากลางวงกลมเป็นเส้นแกน
( คล้ายๆเครื่องหมายบวก + )
แบ่งเส้นแกนออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
- ส่วนที่ 1 กำหนดส่วนศรีษะถึงคิ้ว
- ส่วนที่ 2 กำหนดเป็นส่วนคิ้วถึงปลายจมูก
- ส่วนที่ 3 แบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆกัน
คือ ส่วนที่ 3.1 กำหนดเป็นปลายจมูกถึงริมฝีปาก
ส่วนที่ 3.2 กำหนดเป็นริมฝีปากถึงปลายคาง แล้วลากเส้นรอบนอกแล้ว
เก็บรายละเอียดของน้ำหนักแสงเงาให้ถูกต้องคะ
- ลักษณะเด่นในการวาดดวงตา
ควรมีความแวววาวของดวงตาและความใสทำให้เกิดชีวิตชีวา
ส่วนต่างๆของใบหน้าที่สำคัญซึ่งได้แก่ ดวงตา จมูก
ปาก และใบหู ต่างก็เป็นหลักและหัวใจที่สำคัญใน
การวาดใบหน้าคน
การวาดโครงสร้างใบหน้า ควรร่างเส้นแกนของใบหน้า
ก่อน คือ ต้องลากเส้นวงกลมแบ่งวงกลมด้วยเส้น A
แล้วลากเส้น B ตัด กับเส้น A ผ่ากลางวงกลมเป็นเส้นแกน
( คล้ายๆเครื่องหมายบวก + )
แบ่งเส้นแกนออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
- ส่วนที่ 1 กำหนดส่วนศรีษะถึงคิ้ว
- ส่วนที่ 2 กำหนดเป็นส่วนคิ้วถึงปลายจมูก
- ส่วนที่ 3 แบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆกัน
คือ ส่วนที่ 3.1 กำหนดเป็นปลายจมูกถึงริมฝีปาก
ส่วนที่ 3.2 กำหนดเป็นริมฝีปากถึงปลายคาง แล้วลากเส้นรอบนอกแล้ว
เก็บรายละเอียดของน้ำหนักแสงเงาให้ถูกต้องคะ
- ลักษณะเด่นในการวาดดวงตา
ควรมีความแวววาวของดวงตาและความใสทำให้เกิดชีวิตชีวา
ภาพตัวอย่างการวาดดวงตา
- ลักษณะการวาดปาก
เด่นควรเป็นที่ความมันวาวของปากและริ้วรอยของริมฝีปาก
ภาพตัวอย่างของปาก
- ลักษณะการวาดใบหู
ควรมีความโค้งเว้าที่สมสัดส่วนและความตื้นลึกของร่องหูไม่ดูแบนจนเกินไป
ลักษณะเด่นของการวาดจมูก
ต้องมีความคมสันและมีปีกของจมูกกางออกไม่เหมือนกันของแต่ละคน
- ต้องมีส่วนเว้วส่วนโค้งสูงต่ำของ
สันจมูก
- มีปีกของจมูกที่ไล่ระดับลงมา
- ความมันวาวของส่วนที่โดนแสง
มากจนถึงเงาตก กระทบของ
ส่วนด้านล่าง
อ้างอิงhttp://mostfuntodraw.blogspot.com/2010/12/blog-post.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)